หลักการและเหตุผลแห่งการจัดตั้งสภาบุญ

การสร้างพระ สร้างบุญ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ร่วมสร้างพระถวายไว้กับพระศาสนา ผ่านกิจกรรมของเครือข่ายสภาบุญ

สภาบุญคืออะไร?

สภาบุญคือการรวมตัวกันของกลุ่มสัปปุรุษ ผู้มีใจศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีกุศลเจตนาที่จะทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นด้วยใจอันบริสุทธิ์
ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ12ปีที่แล้ว โดยการริเริ่มของคุณธีรพร ฐานานุศักดิ์ กับ คุณอำพล เจน เพื่อประกอบกิจบุญกิริยาวัตถุข้อทานมัยเป็นหลัก
ผลงานที่ผ่านมาได้แก่การซื้อที่ดินเชิงเขานกเต็น บ้านดงตาหวาน อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี ถวายสงฆ์
เพื่อใช้เป็นสถานที่เอื้อประโยชน์แก่พระสงฆ์ไม่จำกัดนิกาย ใช้เป็นที่พักและประกอบกิจสงฆ์ตามพระวินัย

ปัจจุบันมีสิ่งปลูกสร้างกุฎิบนเขา 2หลัง กุฎิบนพื้นที่ราบ 1หลัง ศาลาการเปรียญ 1หลัง พร้อมพระประธาน
และบ้านใหญ่สำหรับญาติโยมพักอาศัยและประกอบกิจกรรมภายในที่พักสงฆ์ร่วมกัน
นอกจากนั้นยังได้จัดพิมพ์หนังสือธรรมะและสร้างวัตถุมงคลถวายวัดต่างๆ หรือองค์กรกุศลทั่วไป

(ปัจจุบันได้ยกขึ้นถวายให้เป็นของสงฆ์และอยู่ในการดูแลของสงฆ์ บ.ดงตาหวาน อ.กุดข้าวปุ้น จ.อุบลราชธานี)

หลักการและเหตุผล

หลังจากการเสียชีวิตของคุณธีระพร ฐานานุศักดิ์ สภาบุญก็อ่อนกำลังลง
กิจกรรมที่เคยเข้มแข็งสม่ำเสมอลดน้อยลงจนแทบจะไม่มีผลงานอะไรเกิดขึ้นอีก
ด้วยดำริของคุณอำพล เจน ผู้ก่อตั้ง www.ampoljane.com และเครือข่ายสมาชิกจำนวนหนึ่ง
เล็งเห็นว่า การสานต่อสภาบุญเป็นสิ่งที่ควรกระทำร่วมกัน โดยเน้นเรื่องการสร้างวัตถุมงคลถวายวัดหรือองค์กรกุศลเป็นประเดิม

วัตถุมงคลคืออุเทสิกะเจดีย์ที่ชาวพุทธยังคงให้ความสำคัญศรัทธา
โดยเฉพาะในสภาพการณ์ของโลกปัจจุบัน วัตถุมงคลเป็นสิ่งที่จิตใจได้พึ่งพาอาศัยยึดเหนี่ยว
มีความจริงอยู่ว่าทุกวันนี้การสร้างพระเครื่องสักรุ่น เพื่อเป็นเครื่องตอบแทนการทำบุญทาน
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างศาสนสถาน เป็นทุนการศึกษา หรือสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์ต่างๆ
สิ่งที่ต้องมาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ ทุนรอนค่าใช้จ่ายต่างๆ
นับตั้งแต่การแกะพิมพ์ กดพิมพ์ บรรจุหีบห่อ ขนส่ง นำเสก แจกจ่าย
ซึ่งทุกกระบวนการล้วนใช้เงินด้วยกันทั้งสิ้น
ทำให้การจัดทำพระแต่ละครั้งมักจะหนีไม่พ้นข้อครหาว่าเป็นการทำพุทธพาณิชย์ ที่มีเรื่องกำไรขาดทุนมาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ

แม้ที่ผ่านมาจะมีผู้ใจบุญบางท่านจัดสร้างพระถวายให้แก่วัดโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ
แต่ก็นับว่ามีจำนวนน้อยในปัจจุบันและไม่อาจจะกระทำได้บ่อยๆ

ด้วยความเชื่อมั่นในแนวคิดว่าพระเครื่องดีนั้น ให้ดูที่องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ

เจตนาสร้างดี

มวลสารรูปทรงดี

ผู้เสกดี

ในส่วนของมวลสารดี ผู้เสกดีนั้นเป็นสิ่งที่กระทำได้ทั่วไป แต่เจตนาการสร้างดีและบริสุทธิ์นี้ เป็นสิ่งที่หาได้ยากในยุคทุนนิยม แต่ก็มิใช่จะไร้ทางเลือกเสียเลย ดังนั้นกลุ่มสภาบุญจึงมีความคิดร่วมกันว่า ทำอย่างไรจะสร้างพระดี เพื่อถวายวัดต่างๆ โดยยังสามารถรักษาแนวคิดเรื่อง เจตนาการสร้างดี มวลสารรูปทรงดี และผู้เสกดี เอาไว้ได้ จึงเสนอแนวคิดดังนี้

1.การสร้างพระไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการกระทำในนามของกลุ่มที่เรียกว่าสภาบุญ อันประกอบด้วยสมาชิกของสภาบุญ ซึ่งสมาชิกสภาบุญคือสมาชิก www.ampoljane.com หมายความว่าสมาชิกwww.ampoljane.com เป็นสมาชิกสภาบุญโดยอัติโนมัติ การสมัครสมาชิกสภาบุญ ต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกwww.ampoljane.com ทั้งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัครแต่อย่างใด แม้จะเป็นการจัดสร้างในนามสภาบุญ แต่แท้จริงแล้วเป็นสมาชิกสภาบุญเป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้าง โดยการลงขันคนละเล็กคนละน้อย หรือตามอัตภาพของตน เพื่อเป็นทุนในการสร้างพระเครื่องแต่ละรุ่นร่วมกันเมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับว่าการสร้างกุศลแต่ละครั้งย่อมได้กระทำร่วมกัน มิใช่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้สร้างเพียงผู้เดียว

2.หลักเกณฑ์ในการสร้างแต่ละครั้งมีอยู่ว่า

2.1)ในการจัดจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อถวายวัดหรือมอบให้องค์กรกุศลใดๆก็ตาม สมาชิกสภาบุญแต่ละคนมีสิทธิพิจารณาว่าตนเองจะมีศรัทธาในวัตถุมงคลรุ่นนั้นหรือไม่ ถ้ามีก็แสดงความจำนงร่วมออกทุนสร้างได้ตามศรัทธา ถ้าไม่มีศรัทธาสมาชิกมีสิทธิปฏิเสธการออกทุน

2.2) สมาชิกออกทุนสร้างวัตถุมงคลในราคาทุนและจะได้รับพระกลับคืนในราคาทุน ตัวอย่างเช่น

การสร้างพระหนึ่งองค์มีต้นทุน 40 บาท
หากสมาชิกต้องการได้รับพระ 1 องค์ สมาชิกจะต้องบริจาคทุนสร้าง 2 องค์
คือบริจาคปัจจัยเป็นจำนวน 80 บาท (เอา 2 คูณเสมอ)
หากสมาชิกสภาบุญปรารถนาจะได้รับพระสำหรับคนในครอบครัว 5 องค์
ก็ต้องร่วมบริจาคสร้าง 10 องค์ รวมเป็น 400 บาท

ทำไมจึงต้องทำเช่นนั้น

เมื่อการจัดสร้างและเสกพระเสร็จเรียบร้อยโดยสมบูรณ์แล้ว
สมาชิกจะได้รับพระคืนมา 5 องค์ ส่วนอีก 5 องค์จะถูกนำไปถวายวัดหรือองค์กรกุศล
หมายความว่าในการสร้างพระรุ่นใดรุ่นหนึ่ง หากสมาชิกมีศรัทธาร่วมบริจาครวมแล้วสร้างได้เป็นจำนวน 1000องค์
จำนวน 1000 องค์จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนละ 500องค์
ส่วนที่หนึ่งนำกลับมามอบให้สมาชิกสภาบุญที่ออกทุนสร้าง อีกส่วนหนึ่งนำไปถวายวัดหรือองค์กรกุศล
หลังจากถวายวัดหรือองค์กรกกุศลแล้ว
วัดหรือองค์กรกุศลจะนำพระออกไปให้ศรัทธาชนบูชา เพื่อหาปัจจัยบำรุงวัดเพื่อประโยชน์แก่วัดประการใดก็ได้
หรือแม้แต่จะแจกฟรีก็ได้ สภาบุญไม่มีเงื่อนไข
ถวายแล้วก็แล้วกัน สุดแต่วัดจะดำเนินการต่อไป

หากจะมองในแง่ของประโยชน์ที่เกิดขึ้น เห็นได้ชัดว่าเกิดขึ้นทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน
“ประโยชน์ตน” สมาชิกได้วัตถุมงคลในราคาทุนกลับคืนมา รวมทั้งได้บุญในส่วนที่นำถวายวัดหรือองค์กรกุศล ซึ่งส่วนนี้ถือเป็น”ประโยชน์ท่าน”
เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้อครหาว่าทำเป็นพุทธพาณิชย์ หรือหากินกับวัดก็จะหมดไป
ผลตอบแทนที่สมาชิกจะได้คือบุญทาน และพระเครื่องในราคาต้นทุนอย่างแท้จริง

3. ในการสร้างพระแต่ละครั้งนั้น สภาบุญจะเป็นผู้ออกแบบ จัดหามวลสาร ดำเนินการจัดสร้าง
แสวงหาครูบาอาจารย์ในการปลุกเสก โดยเน้นความถูกต้อง เหมาะสม งดงาม

4. ในการสร้างพระแต่ละครั้งนั้น จำนวนสร้างจะขึ้นอยู่กับจำนวนบริจาคของสมาชิก
หากมีน้อยก็สร้างน้อย หากมีมากก็สร้างมาก (สร้างตามยอดเงินบริจาค)
หรือแล้วแต่กรรมการและสมาชิกจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบให้สร้าง

4.1) ในกรณีที่สมาชิกผู้เสนอสร้างวัดวัตถุมงคลกำหนดจำนวนสร้างไว้
หากสมาชิกบริจาคแล้วเกินจำนวนที่ที่กำหนดไว้ สภาบุญจะยึดถือการสร้างตามยอดเงินบริจาคเป็นหลัก
ดังนั้นจำนวนสร้างอาจมากกว่าจำนวนที่กำหนดไว้

4.2) ในกรณีที่สมาชิกผู้เสนอสร้างวัดวัตถุมงคลกำหนดจำนวนสร้าง แต่ยอดเงินบริจาคมีไม่ถึงจำนวนที่กำหนดไว้
สมาชิกผู้เสนอสร้างจะต้องรับผิดชอบในส่วนที่เหลือ
ตัวอย่างเช่นสมาชิกท่านหนึ่งเสนอสร้างถวายวัดหนึ่ง วัดต้องการจำนวน2000องค์
แต่สมาชิกบริจาครวมแล้วสร้างได้เพียง1500องค์
ดังนั้นในส่วน500องค์ที่เหลือ สมาชิกผู้เสนอสร้างจะต้องรับผิดชอบในส่วนนี้

5.วัดหรือองค์กรที่สภาบุญจะสร้างวัตถุมงคลถวายหรือมอบให้นั้น ไม่จำกัดกลุ่ม นิกาย
แต่ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับมติของสมาชิกสภาบุญออกเสียงร่วมกัน

คณะกรรมการสภาบุญ

1. Ampol Janekoonthongkumbai (อำพล เจน)

2. สุดสะแนน เธียร์เตอร์

3. สุริยา เอ็มวงศ์

4.Manat Poka-anon

5.Pim Pa Veen 

6.เวทย์ โทประสิทธิ์

7.วงเดือน เย็นฉ่ำ

8. พยุงศักดิ์ เศรษฐมาตย์ 

9. Weerapat Krongyut

10. Mo Palungjit

11. Oudomxok Kito Srpk

(หมายเหตุ: อำนาจในการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการเป็นของประธานสภาบุญ)

อำนาจและหน้าที่ของกรรมการสภาบุญ

1.ชี้แจง ทำความเข้าใจกับสมาชิก เกี่ยวกับ หลักการและเหตุผล/วัตถุประสงค์ของสภาบุญ
2.เป็นที่ปรึกษาให้กับสมาชิกสภาบุญ
3.ไกล่เกลี่ยกรณีมีข้อพิพาทขัดแย้งด้วยความเห็นไม่ตรงกัน หรือเรื่องอื่นๆที่เป็นเหตุให้ความเห็นระหว่างสมาชิกไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4.เสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาและร่วมหาทางออกร่วมกันกับสมาชิก (ไม่ใช่เป็นผู้ตัดสิน แต่เป็นผู้เสนอวิธีการแล้วให้สมาชิกร่วมกันลงความเห็น หรือตัดสินใจร่วมกัน)
5.เผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรมและผลงานของสภาบุญ
6.ดำเนินการจัดสร้าง จัดทำตามเจตนารมณ์ของสมาชิก รวบรวมปัจจัยในการทำบุญ จัดส่งพระให้กับสมาชิกผู้ร่วมทำบุญในแต่ละครั้ง

 

 

 

แชร์ :

ความคิดเห็น

** โปรดแสดงความคิดเห็นอย่างมีวิจารณญาน