พระพิราพ หลวงปู่ทองสา

พระไภราวะหรือไภรพ หรือไภราพ เป็นปางหนึ่งของพระศิวะ ซึ่งนับถือว่าเป็น นาฏราช คือผู้ให้กำเนิดนาฏศิลป์แก่มนุษย์
พระไภราวะ เป็นที่นับถือเคารพบูชาและเกรงกลัวยิ่งในอินเดีย แถบลุ่มน้ำคงคา โอริสา มหานที และจันทรภาค โดยเฉพาะที่เมืองพาราณสี เชื่อว่าการบูชาเทวรูปนี้ตามบ้านจะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ขจัดเสนียดจัญไรและประทานพรให้ด้วย


ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าพระพิราพนั้นแท้จริงแล้วคือปางดุร้ายปางหนึ่งของพระอิศวรเป็นเจ้า ทำนองเดียวกับเจ้าแม่กาลี หรือ ทุรคา ซึ่งเป็นปางดุร้ายของพระอุมา นั่นเอง

ความเชื่อด้านนาฏศิลป์และดนตรีไทยส่วนหนึ่งคงได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโดยผ่านมาทางชวาและขอม แล้วไทยคงจะรับจากขอมอีกทอดหนึ่ง

ทางฝ่ายนาฏศิลป์ยังถือกันว่า ท่ารำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพเป็นท่ารำสูงสุด ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และมีระเบียบแบบแผนเคล็ดลางที่ซับซ้อนมากมาย เมื่อมีการรำที่มือขวาของศิลปินผู้แสดงจะถือหอกยาวเป็นอาวุธ ส่วนมือซ้ายถือก้านใบมะยม ซึ่งเชื่อว่าเป็นไม้มงคล มีนามพ้องกับ ไม้ยมทัณฑ์ของพระยม และในพิธีกรรมทางศาสนามักใช้ก้านใบมะยมในการประพรมน้ำมนต์

นายรงภักดี (เจียร จารุจรณ) ศิลปินแห่งชาติ บรมครูผู้ถ่ายทอดการรำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ อธิบายว่า
“พระพิราพถือกำก้านใบมะยมเป็นการประพรมน้ำมนต์ให้กับศิษย์ ส่วนมือขวาถือหอก เป็นการขับไล่ภูตผีปีศาจ”

ศิลปินไทยจึงเคารพบูชาองค์พระพิราพอย่างยิ่ง และนิยมตั้งบูชาเศียรพระภรตฤษีและเศียรพระพิราพคู่กัน

การจัดสร้างวัตถุมงคลองค์พระพิราพขึ้นนี้ เพื่อหมายจะไว้แจกเป็นมิตรพลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในแวดวงศิลปะการแสดงและดนตรีทั้งหลายจะได้มีเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและระลึกถึงว่าตนนั้นมีครูอาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชา

จะได้มีสติปัญญาอันเข้มแข็ง และดำเนินการแสดงไปได้อย่างลุล่วงสำเร็จ หรือผู้ที่อยู่นอกเหนือจากแวดวงจะบูชาตามคติว่าท่านเป็นเทพผู้ขจัดเสนียดจัญไร และประทานพรตามแบบอินเดียก็ไม่น่าจะผิด จึงได้นำเรื่องนี้เรียนปรึกษากับอาจารย์อำพล เจน ที่ผู้เขียนให้ความนับถือ ซึ่งท่านก็รับเป็นธุระจัดการออกแบบและแกะพิมพ์ ตลอดจนจัดหามวลสารศักดิ์สิทธิ์ประดามี เป็นต้นว่า

ผงเสกหลวงปู่คำพันธ์ ผง ๓๐๐ อาจารย์, ผงเสกหลวงปู่เปลี้ย วัดชอนสารเดช ,ผงพระนาคเกี้ยวหลวงปู่คำพันธ์ ,ผงใบโพธิ์จากประเทศอินเดีย, ชานหมากหลวงปู่หงส์ วัดเพชรบุรี, ทรายเสกหลวงปู่ฤทธิ์ วัดประทานราชดำริ, ทรายเสกหลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย , ผงมหาฤษีชอนสารเดช, ผงใบโพธิ์สมเด็จลุน ที่ใช้อุดก้นกัสปฤษีหลวงปู่ทองสา รุ่นแรก, ผงชานหมากหลวงพ่อฤทธิ์ ที่ใช้สร้างรูปเหมือนเนื้อชานหมากทั้งสองรุ่น เป็นอาทิ มาจัดสร้างเป็นพระพิราพเนื้อผง โดยจำลองตามแบบเศียรองค์พระพิราพ คือเป็นยักษ์เศียรโล้น สีม่วงแก่หรือสีน้ำรัก สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจระเข้ หน้ากาง คางออก หรือที่เรียกว่าหน้าจาวตาล ส่วนด้านหลังประทับเป็นรูปเศียรพระภรตมุณีมหาฤษี จำนวน ๕,๑๔๐ องค์ และเนื้อพิเศษอีก ๖๙ องค์ รวมทั้งสิ้น ๕,๒๐๙ องค์

 

พระพิราพหลวงปู่ทองสา พระพิราพหลวงปู่ทองสา (ด้านหลัง)

17861432_1489874827720505_8674629078728610977_n
พระพิราพทั้งหมดได้นำไปน้อมขออาราธนาหลวงปู่ทองสา ฐิตเปโม แห่งสำนักวัดป่าจิตวิทยาราม อ.ปากคาด จ.หนองคาย ให้ทำการปลุกเสก ณ ที่พักสงฆ์ทิพยเนตรบรรพต (สภาบุญ) จังหวัดอุบลราชธานี คราวที่ท่านลงมาพำนัก เมื่อวันที่ ๗ และ๘ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ผู้อยู่ในเหตุการณ์เล่าว่าท่านเสกให้อย่างเต็มที่ถึงขนาดเสกและจำวัดอยู่หน้ากองวัตถุมงคลนั้นเลยทีเดียว

pic_pra_img_1083 copy

ส่วนใหญ่พระพิราพชุดนี้จะตกอยู่กับคนใกล้ชิด ด้วยมิได้มีการประชาสัมพันธ์ใดๆทั้งสิ้น มีการแจกที่เป็นกิจลักษณะก็เมื่อคราวจัดพิธีไหว้ครูจารึก ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) ในปีพ.ศ.๒๕๔๘ และในพิธีไหว้ครู ครอบครู นาฏศิลป์ และไหว้สมเด็จครู สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ณ ท้องพระโรงวังท่าพระ ปีพ.ศ.๒๕๕๐


พระพิราพ : อสูรเทพผู้มีฤทธิ์ขลัง

โดย : วิศปัตย์ ชัยช่วย

———————–

แชร์ :

ความคิดเห็น

** โปรดแสดงความคิดเห็นอย่างมีวิจารณญาน